หนึ่งในผู้ประกอบการธุรกิจซอฟต์แวร์ไทย ที่ได้รับผลกระทบจากการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ บริษัท ไทยซอฟท์แวร์เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ก่อตั้งขึ้นในระหว่างวิกฤตการณ์ทางการเงินปี ค.ศ. 1997 เมื่อคุณสมพร มณีรัตนะกูล นักพัฒนาซอฟต์แวร์และผู้ประกอบการเห็นโอกาสในภาวะวิกฤต ที่จะพัฒนาและจัดจำหน่ายซอฟต์แวร์เพื่อธุรกิจไทย บริษัทฯ จ้างพนักงานจำนวน 30 คน และเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์พจนานุกรมไทย-อังกฤษ ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดและใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในบ้านและสำนักงานทั่วประเทศ ซอฟแวร์พจนานุกรมนี้ เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ที่ถูกละเมิดลิขสิทธิ์มากที่สุด โดยพบแทบทุกครั้งในการเข้าตรวจค้นซอฟต์แวร์เถื่อนโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ
“ ที่พูดกันว่าการละเมิดลิขสิทธิ์ส่งผลกระทบต่อบริษัทซอฟต์แวร์ยักษ์ใหญ่เท่านั้น เป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ส่งผลกระทบต่อธุรกิจ ของเราอย่างมาก”
คุณสมพร มณีรัตนะกูล
ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ชาวไทย เจ้าของลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์พจนานุกรมไทย-อังกฤษยอดนิยม
บริษัทไทยซอฟท์แวร์เอ็นเตอร์ไพรส์ ได้รับผลกระทบจากการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์หรือไม่ อย่างไร?
"หนึ่งในความเชื่อที่เชิ่อกันทั่วไปคือถ้าซอฟต์แวร์มีราคาถูกกว่านี้ การละเมิดลิขสิทธิ์จะลดลง แต่นั่นไม่จริงเลย ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ของเราขายในราคาเพียงแค่หลักร้อยถึงหลักพันบาท สำหรับหนึ่งสิทธิ์ในการใช้งาน แต่คนส่วนใหญ่กลับใช้ของเถื่อน”
"อีกเรื่องที่เข้าใจผิดกันมากคือ การละเมิดลิขสิทธิ์ส่งผลกระทบต่อบริษัทซอฟต์แวร์ยักษ์ใหญ่เท่านั้น ซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน บริษัทซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่มีตลาดอยู่ทั่วโลก ซึ่งบางตลาดมีอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ต่ำมาก ดังนั้นความสูญเสีญจึงเฉลี่ยกันไป แต่สำหรับบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์ของไทยแล้ว ตลาดหลักของเราคือในประเทศไทยเท่านั้น ดังนั้นเราจึงได้รับผลกระทบมากจากอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ในประเทศไทยที่สูงลิ่ว”
"อีกเรื่องที่เข้าใจผิดกันมากคือ การละเมิดลิขสิทธิ์ส่งผลกระทบต่อบริษัทซอฟต์แวร์ยักษ์ใหญ่เท่านั้น ซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน บริษัทซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่มีตลาดอยู่ทั่วโลก ซึ่งบางตลาดมีอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ต่ำมาก ดังนั้นความสูญเสีญจึงเฉลี่ยกันไป แต่สำหรับบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์ของไทยแล้ว ตลาดหลักของเราคือในประเทศไทยเท่านั้น ดังนั้นเราจึงได้รับผลกระทบมากจากอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ในประเทศไทยที่สูงลิ่ว”
"อีกเรื่องที่เข้าใจผิดกันมากคือ การละเมิดลิขสิทธิ์ส่งผลกระทบต่อบริษัทซอฟต์แวร์ยักษ์ใหญ่เท่านั้น ซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน บริษัทซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่มีตลาดอยู่ทั่วโลก ซึ่งบางตลาดมีอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ต่ำมาก ดังนั้นความสูญเสีญจึงเฉลี่ยกันไป แต่สำหรับบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์ของไทยแล้ว ตลาดหลักของเราคือในประเทศไทยเท่านั้น ดังนั้นเราจึงได้รับผลกระทบมากจากอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ในประเทศไทยที่สูงลิ่ว”
รัฐบาลได้ดำเนินการเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ ในการป้องปรามการละเมิดลิขสิทธิ์อย่างไร?
รัฐบาลได้ดำเนินการเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ ในการป้องปรามการละเมิดลิขสิทธิ์อย่างไร?
บริษัทได้ดำเนินการอย่างไรบ้าง เพื่อต่อสู้กับการละเมิดลิขสิทธิ์?
"เราได้เข้าเป็นสมาชิกของ บีเอสเอ พันธมิตรซอฟต์แวร์ ที่ให้การสนับสนุนในเรื่องนี้ นอกจากนี้ เรายังช่วยในการสื่อสารกับรัฐบาลและประชาชน ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ สิ่งสำคัญคือเราพยายามจะช่วยให้ผู้คนเข้าใจว่า เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เท่านั้น แต่เกี่ยวพันกับอนาคตของชาติ เป็นความจริงที่ว่าการปกป้องคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา จะนำมาซึ่งผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจแก่ประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างงานคุณภาพ และการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมไอทีทั้งหมด ยิ่งไปกว่านี้ หากปราศจากการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ คนหนุ่มสาวนักพัฒนาซอฟต์แวร์รุ่นใหม่ จะมีกำลังใจในการคิดค้นพัฒนาและสร้างผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ที่ดี"
บริษัทซอฟต์แวร์ขนาดเล็ก ต้องเผชิญกับความยากลำบาก ในการป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ผลิตภัณฑ์ของตนอย่างไรบ้าง?
"เป็นเรื่องยากและท้าทายมาก แต่ส่วนใหญ่แล้ว นักพัฒนาซอฟต์แวร์มักเชื่อมั่นว่า นวัตกรรมซอฟต์แวร์ใหม่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งาน จึงยังมุ่งมั่นทำงานกันต่อไป ในขณะนี้กลยุทธ์ที่ดีที่สุดของเราคือ การช่วยให้ผู้คนเข้าใจว่าการใช้งานผลิตภัณฑ์ของเราจำเป็นต้องได้รับการอนุญาต ดังที่ผมได้กล่าวไปแล้วว่า ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของเราที่เรา มีราคาเพียงหลักร้อยและหลักพันบาท นอกจากนี้ เราจำเป็นต้องพึ่งการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่ เรายื่นคำร้องเรียนเมื่อมีการละเมิดลิขสิทธิ์ผลิตภัณฑ์ของเรา แต่หลังจากนั้นแล้วมันขึ้นอยู่กับการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่"