บก.ปอศ. เดินหน้าตรวจจับการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในองค์กรธุรกิจ ล่าสุดในไตรมาสแรกปี 2560 ตรวจค้นและดำเนินคดีกับองค์กรธุรกิจจำนวนกว่า 50บริษัทพบการใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายและ ไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิบนคอมพิวเตอร์มากกว่า 600 เครื่อง คิดเป็นมูลค่าความเสียหายกว่า 90 ล้านบาท สูงสุดในกลุ่มธุรกิจออกแบบตกแต่งภายในและผลิตชิ้นส่วนยานยนต์โดยเฉพาะในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร และในจังหวัดที่เป็นพื้นที่ใกล้เคียง
การใช้งานซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายและไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ มีโทษทั้งจำและปรับ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ และเจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิดำเนินคดีทางแพ่งกับองค์กรธุรกิจที่ละเมิดลิขสิทธิ์ด้วยที่สำคัญ องค์กรธุรกิจที่ ละเมิดลิขสิทธิ์กำลังเสี่ยงกับการถูกโจมตีทางไซเบอร์ และภัยไซเบอร์อื่นๆ เนื่องจากซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายและไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิมีส่วนทำให้เกิดจุดอ่อนในระบบความมั่นคง ปลอดภัยของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
การใช้งานซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายและไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ มีโทษทั้งจำและปรับ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ และเจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิดำเนินคดีทางแพ่งกับองค์กรธุรกิจที่ละเมิดลิขสิทธิ์ด้วยที่สำคัญ องค์กรธุรกิจที่ ละเมิดลิขสิทธิ์กำลังเสี่ยงกับการถูกโจมตีทางไซเบอร์ และภัยไซเบอร์อื่นๆ เนื่องจากซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายและไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิมีส่วนทำให้เกิดจุดอ่อนในระบบความมั่นคง ปลอดภัยของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
จากผลสำรวจการใช้ซอฟต์แวร์ทั่วโลก โดยไอดีซี (IDC) ผู้นำด้านการวิจัยระดับโลกพบอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในประเทศไทยในปี 2559 อยู่ที่ 69% ลดลงจาก 71% ในปี 2556 อัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ที่ลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นผลมาจากการดำเนินนโยบายด้านการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาอย่างจริงจังของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน การสร้างความตระหนักรู้ให้แก่องค์กรธุรกิจและภาคประชาชนของกรมทรัพย์สินทางปัญญา และการบังคับใช้กฎหมายเพื่อปราบปรามการละเมิดสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
อีกส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญมาก ได้แก่ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ซอฟต์แวร์ขององค์กรธุรกิจ ซึ่งเริ่มมีความเข้าใจแล้วว่า การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์นั้น ไม่เพียงแต่เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย แต่ยังเป็นสาเหตุที่นำมาซึ่งปัญหาด้านภัยไซเบอร์ต่างๆ เนื่องจากการใช้งานซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายและไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิจะทำให้องค์กรธุรกิจไม่ได้รับการดูแลด้านระบบความมั่นคงปลอดภัยจากบริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์ ทำให้มีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะติดมัลแวร์
ถึงแม้อัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในประเทศไทยจะลดลงอย่างต่อเนื่องจน แต่เป้าหมายของเราคือลดอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ในประเทศไทยลงมาให้ใกล้เคียงหรือต่ำกว่าอัตราเฉลี่ยของเอเชียที่ร้อยละ 61 ให้ได้เร็วที่สุด