สิ่งหนึ่งที่ผู้คนในยุคปัจจุบันให้ความสนใจกันมาก คือ ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากปัญหาสิ่งแวดล้อม และภัยพิบัติตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง สร้างความสูญเสียแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศนั้น ๆ อีกด้วย หลายประเทศจึงได้พยายามหา มาตรการเพื่อ สนับสนุน ผลักดันและรณรงค์ให้เกิดจิตสำ นึกต่อสิ่งแวดล้อมแก่พลเมืองของตนผ่านการจัดการศึกษาที่เหมาะสม เพื่อเป็นการป้องกันและลดปัญหา ที่จะเกิดขึ้นจากต้นเหตุ โดยการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษา (Environmental Education) ได้รับการยอมรับและมีความสำคัญมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตาม การจัดการเรียนการสอนด้านสิ่งแวดล้อมโดยการถ่ายทอดจากผู้สอนสู่ผู้เรียนเพียงฝ่ายเดียวอาจไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ เมื่อเทียบกับการสนับสนุนให้ผู้เรียนได้เป็นศูนย์กลาง ในการเรียนรู้เพื่อสร้างจิตสำ นึกและความมุ่งมั่นในการอนุรักษ์จากภายใน นอกจากนี้ การจัดการเรียนการสอนควรตระหนักถึงความสำคัญของ คนทุกกลุ่มและเปิดโอกาสให้พลเมือง โลกทุกคนเข้าถึงการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมได้อย่างเท่าเทียม
ความสำคัญของการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษา (Environmental Education) ได้ถูกยอมรับอย่างเป็นทางการครั้งแรกในการประชุมระหว่างรัฐบาลระดับนานาชาติที่จัดโดย UNESCO ใน Intergovernmental Conference onEnvironmental Education
เมื่อ พ.ศ. 2520 ที่เมือง Tbilisi ประเทศจอร์เจีย (ส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียตในขณะนั้น)
รัฐบาลจากประเทศต่าง ๆ ได้ลงนามยอมรับข้อตกลง Tbilisที่ผลักดันการศึกษาด้าน สิ่งแวดล้อม ให้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาภาคบังคับ โดยประเทศไทยเป็นส่วนหนึ่งในการลงนาม ครั้งสำคัญดังกล่าวด้วย
UNESCO ให้คำ นิยามของการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาไว้ว่า เป็นกระบวนการสร้างจิตสำ นึก ความห่วงใยต่อสิ่งแวดล้อม แรงบันดาลใจ ทักษะ เจตคติมีความรู้เกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม และปัญหาที่เกี่ยวข้องต่อพลเมืองโลกเพื่อแก้ไขปัญหาและมีความมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่กำลังเกิดขึ้น และป้องกันการเกิดปัญหาในอนาคตทั้งด้วยตนเองและร่วมมือกับผู้อื่น (UNESCO, 1978) จากคำ นิยามดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า การให้ความรู้แค่เพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ ที่จะแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ จำ เป็นต้องอาศัยจิตสำ นึก ทัศนคติที่ดี และความมุ่งมั่นในตัวบุคคลอีกด้วย
การสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาจึงเน้นด้านกระบวนการพัฒนาคนให้ทั้งมีความรู้และมีเจตคติที่ดีเพื่อเป็น
กำลังสำคัญในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม
สิ่งหนึ่งที่ผู้คนในยุคปัจจุบันให้ความสนใจกันมาก คือ ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากปัญหาสิ่งแวดล้อม และภัยพิบัติตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง สร้างความสูญเสียแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศนั้น ๆ อีกด้วย หลายประเทศจึงได้พยายามหา มาตรการ เพื่อสนับสนุน ผลักดันและรณรงค์ให้เกิดจิตสำ นึกต่อสิ่งแวดล้อมแก่พลเมืองของตนผ่านการจัดการศึกษาที่เหมาะสม เพื่อเป็นการป้องกันและลดปัญหา ที่จะเกิดขึ้นจากต้นเหตุ โดยการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษา (Environmental Education) ได้รับการยอมรับและมีความสำคัญมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตาม การจัดการเรียนการสอนด้านสิ่งแวดล้อม โดยการถ่ายทอดจากผู้สอนสู่ผู้เรียนเพียงฝ่ายเดียวอาจไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ เมื่อเทียบกับการสนับสนุนให้ผู้เรียนได้เป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้เพื่อสร้างจิตสำ นึกและความมุ่งมั่นในการอนุรักษ์จากภายใน นอกจากนี้ การจัดการเรียนการสอนควรตระหนักถึงความสำคัญของ คนทุกกลุ่มและเปิดโอกาสให้พลเมืองโลกทุกคนเข้าถึงการศึกษา ด้านสิ่งแวดล้อมได้อย่างเท่าเทียม