ก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas) เป็นก๊าซที่มีคุณสมบัติในการดูดซับคลื่นรังสี
ความร้อนได้ดี ก๊าซเหล่านี้มีความจำเป็นต่อการรักษาอุณหภูมิในบรรยากาศ
ของโลกให้คงที่ ซึ่งหากบรรยากาศโลกไม่มีก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ มนุษย์
และสิ่งมีชีวิตอื่นจะไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ เพราะอุณหภูมิโลกในตอนกลางวันนั้น
จะร้อนจัดเหมือนเตาอบ แต่ตกกลางคืนจะหนาวจัดเหมือนช่องฟรีซ
ด้วยคุณสมบัติของก๊าซเรือนกระจก จะดูดคลื่นรังสีความร้อนไว้ในเวลากลางวัน
แล้วค่อยๆ แผ่รังสีความร้อนออกมาในเวลากลางคืน ทำให้อุณหภูมิในบรรยากาศโลก
ไม่เปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน แต่เมื่อก๊าซเรือนกระจกสะสมในชั้นบรรยากาศมาก
จนเกินไป จะไม่ปล่อยความร้อนให้ออกสู่นอกโลกทั้งหมด เมื่อความร้อนสะสมมากขึ้น
จึงทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นจนเกิดปัญหาภาวะโลกร้อน
ก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas) ก๊าซเรือนกระจกมีทั้งก๊าซที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น เกิดจากการหายใจของสิ่งมีชีวิต และก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล ก๊าซเรือนกระจกที่ต้องรายงานภายใต้ความตกลงปารีสมีจํานวน 7 ชนิด ได้แก่
ซึ่งก๊าซเรือนกระจกแต่ละชนิดสามารถอยู่ในชั้นบรรยากาศได้ยาวนานแตกต่างกัน และมีค่าศักยภาพในการทําให้โลกร้อนที่แตกต่างกัน
ในการรายงานปริมาณก๊าซเรือนกระจกภายใต้ความตกลงปารีสกําหนดให้ใช้ค่าศักยภาพในการทําให้โลกร้อนที่ระยะเวลา 100 ปี ในการปรับค่าปริมาณของก๊าซชนิดอื่นให้อยู่ในหน่วยเทียบเท่ากับ
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ภาวะโลกร้อน (Global Warming) เป็นปรากฏการณ์ที่อุณหภูมิเฉลี่ยของผิวโลกสูงขึ้นเรื่อยๆ
สาเหตุมาจากก๊าซเรือนกระจกที่มนุษย์ก่อขึ้นจากกิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ทั้งการใช้พลังงาน
การเดินทางขนส่ง การตัดไม้ทำลายป่า การทำลายทรัพยากรธรรมชาติ
จนเป็นเหตุทำให้ภูมิอากาศแปรปรวน เกิดภัยพิบัติ ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวาง
ต่อพืช สัตว์ และพวกเราทุกคนบนโลก
ด้วยการปิดไฟ ถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้า
เมื่อไม่ใช้งาน
ต้นไม้ช่วยดูดซับก๊าซเรือนกระจก
ให้ร่มเงา เย็นสบาย
ประหยัดกว่าหลอดปกติ 40%
การผลิตน้ำประปาต้องใช้พลังงานจำนวนมาก
ลดการเปิดแอร์ ประหยัดค่าไฟฟ้าไปได้มาก
หันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะ หรือใช้วิธีเดิน
ปั่นจักรยานเมื่อไปในระยะทางใกล้ๆ