โครงการรณรงค์ Safe Software, Safe Nation
โครงการรณรงค์ Safe Software, Safe Nation เกิดจากความร่วมมือของ 3 หน่วยงาน ประกอบด้วย กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ กองบังคับการปราบปราม การกระทำความผิด เกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ และสมาคมอุตสาหกรรม ซอฟต์แวร์ไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักรู้เรื่องภัยไซเบอร์ ในบริบทของการ ใช้ซอฟต์แวร์ และส่งเสริมวิธีการใช้ และบริหารจัดการสินทรัพย์ซอฟต์แวร์ตามมาตรฐาน สากล เพื่อลดความเสี่ยงบนโลกไซเบอร์ที่เกิดจากการใช้ซอฟต์แวร์ ผิดกฎหมาย และไม่มี สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ และเพื่อให้องค์กรธุรกิจ สามารถใช้ประโยชน์จากซอฟต์แวร์ ในการดำเนินธุรกิจ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายได้อย่างคุ้มค่าการลงทุน และมีประสิทธิภาพ
อ่านต่อ
ข่าวสารและกิจกรรม

26

OCT

2017

ภาครัฐ – เอกชนรวมใจ เดินหน้าโครงการรณรงค์ Safe Software, Safe Nation ปีที่ 2 ร่วมสร้างภูมิคุ้มกัน SMEs ต่อสู้ภัยไซเบอร์
อาชญากรไซเบอร์เล็งเป้าโจมตีเอสเอ็มอี (SMEs) เพื่อขยายช่องทางเข้าโจมตีองค์กรธุรกิจ ขนาดใหญ่ในเครือข่ายซัพพลายเชน (Supply Chain)
อ่านต่อ

26

OCT

2017

ภาครัฐ – เอกชนรวมใจ เดินหน้าโครงการรณรงค์ Safe Software, Safe Nation ปีที่ 2 ร่วมสร้างภูมิคุ้มกัน SMEs ต่อสู้ภัยไซเบอร์
อาชญากรไซเบอร์เล็งเป้าโจมตีเอสเอ็มอี (SMEs) เพื่อขยายช่องทางเข้าโจมตีองค์กรธุรกิจ ขนาดใหญ่ในเครือข่ายซัพพลายเชน (Supply Chain)
อ่านต่อ

26

OCT

2017

ภาครัฐ – เอกชนรวมใจ เดินหน้าโครงการรณรงค์ Safe Software, Safe Nation ปีที่ 2 ร่วมสร้างภูมิคุ้มกัน SMEs ต่อสู้ภัยไซเบอร์
อาชญากรไซเบอร์เล็งเป้าโจมตีเอสเอ็มอี (SMEs) เพื่อขยายช่องทางเข้าโจมตีองค์กรธุรกิจ ขนาดใหญ่ในเครือข่ายซัพพลายเชน (Supply Chain)
อ่านต่อ
ขั้นตอนง่ายๆ ในการตรวจสอบการใช้งานซอฟต์แวร์
01
จัดทำบัญชี
รายการซอฟต์แวร์ และฮาร์ดแวร์
  • 1.1

    บัญชีรายการซอฟต์แวร์ที่ใช้งานได้ตามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิหรือไลเซ่นส์ (License) รวมถึงซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สหรือฟรีแวร์

  • 1.2

    บัญชีรายการฮาร์ดแวร์ ได้แก่ คอมพิวเตอร์ เซิฟเวอร์ แท็บเล็ต สมาร์ทโฟน ฯลฯ รวมถึงอุปกรณ์ส่วนตัวของพนักงานที่อนุญาตให้นำมาใช้ในธุรกิจ

  • 1.3

    บัญชีรายการซอฟต์แวร์ที่ใช้งานหรือถูกติดตั้งลงในฮาร์ดแวร์

02
ตรวจสอบความแตกต่าง
ระหว่างซอฟต์แวร์ที่ใช้งานหรือถูกติดตั้ง
  • 2.1

    หากจำนวนซอฟต์แวร์ที่ใช้งานหรือถูกติดตั้งน้อยกว่าจำนวนสิทธิ และซอฟต์แวร์ดังกล่าวไม่มีความจำเป็นต่อธุรกิจ ให้พิจารณาร่วมกับฝ่ายบริหาร เพื่อหาวิธีดำเนินการลดต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายสำหรับซอฟต์แวร์ดังกล่าว

  • 2.2

    บัญชีรายการฮาร์ดแวร์ ได้แก่ คอมพิวเตอร์ เซิฟเวอร์ แท็บเล็ต สมาร์ทโฟน ฯลฯ รวมถึงอุปกรณ์ส่วนตัวของพนักงานที่อนุญาตให้นำมาใช้ในธุรกิจ

  • 2.3

    หากจำนวนซอฟต์แวร์ที่ใช้งานหรือถูกติดตั้งมากกว่าจำนวนสิทธิ ให้พิจารณาร่วมกับฝ่ายบริหาร เพื่อหาวิธีดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องในทันที

03
พิจารณาข้อปฏิบัติเพิ่มเติม
และข้อควรระวัง
  • 3.1

    ตรวจหาซอฟต์แวร์หรือข้อมูลที่สร้างความเสี่ยงให้กับองค์กร หากตรวจพบรายการดังต่อไปนี้ ให้ดำเนินการแก้ไขในทันที ได้แก่

    • ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานหรือถูกติดตั้งไว้ แต่ไม่ได้อยู่ในบัญชีรายการซอฟต์แวร์ที่ใช้งานหรือถูกติดตั้ง (ไม่ว่าจะมีสิทธิหรือไม่ก็ตาม)
    • ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานหรือถูกติดตั้งอย่างผิดกฎหมาย หรือไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิหรือไลเซ่นส์
    • โปรแกรมที่ใช้เพื่อการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ เช่น Crack หรือ Keygen
    • ข้อมูล Serial Number ของซอฟต์แวร์ที่ไม่ถูกต้อง
  • 3.2

    ปรับปรุงกระบวนการบริหารจัดการสินทรัพย์ซอฟต์แวร์ (Software Asset Management หรือ SAM) ตามมาตรฐานสากล เพื่อให้มีกระบวนการสอดส่องดูแล และบริหารจัดการสินทรัพย์ซอฟต์แวร์ได้ถูกต้องและยั่งยืน

การใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายและไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ เป็นความผิดอาญา มีโทษทั้งจำและปรับ เจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิดำเนินคดีทางแพ่ง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจและชื่อเสียงองค์กร
ติดต่อเรา
ติดต่อสอบถามข้อมูล
สมัครรับข่าวสารและกิจกรรมสัมมนา