กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

"ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง" หมายความว่า สิ่งที่มีอยู่หรือเกิดขึ้นตามธรรมชาติในบริเวณทะเลและชายฝั่ง รวมถึงพรุชายฝั่ง พื้นที่ชุ่มน้ําชายฝั่ง คลอง คูแพรก ทะเลสาบ และบริเวณพื้นที่ปากแม่น้ํา ที่มีพื้นที่ติดต่อกับทะเลหรืออิทธิพลของน้ําทะเลเข้าถึง เช่น ป่าชายเลน ป่าชายหาด หาด ที่ชายทะเล เกาะ หญ้าทะเล ปะการัง ดอนหอย พืชและสัตว์ทะเล หรือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ระบบนิเวศ ทางทะเลและชายฝั่ง เช่น ปะการังเทียม แนวลดแรงคลื่น และการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง

"เขตอนุรักษ์” หมายความว่า เขตอุทยานแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและเขตห้ามล่าสัตว์ป่าตามกฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า เขตป่าสงวนแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ เขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมตามกฎหมาย ว่าด้วยการส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติที่รักษาพืชพันธุ์ตามกฎหมายว่าด้วยการประมง และเขตพื้นที่คุ้มครองอย่างอื่นเพื่อสงวนและรักษาสภาพธรรมชาติ ตามที่มีกฎหมายกําหนด

ที่มา : มาตรา 3 พระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ.2558


เกี่ยวกับเรา ประวัติกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

จากการพัฒนาของประเทศในด้านต่างๆ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เช่น การทำการประมง อุตสาหกรรม เกษตรกรรม การพัฒนาแหล่งชุมชนและอื่นๆ ทำให้มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างมาก ก่อให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงและส่งผลกระทบต่อความเสื่อมโทรมของทรัพยากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีการใช้ที่ดินชายฝั่งทะเลมาก จนเกิดความขัดแย้งในการใช้ประโยชน์ และมีการกัดเซาะชายฝั่งทะเลอย่างรุนแรง พื้นที่ป่าชายเลน ลดลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการบุกรุกและเปลี่ยนแปลงสภาพเพื่อประโยชน์ในด้านอื่นๆ แหล่งปะการังและหญ้าทะเล อยู่ในสภาพเสื่อมโทรมเช่นกัน ปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้ลดลงอย่างมาก ประกอบกับสภาพแวดล้อมของแหล่งน้ำเสื่อมโทรม ซึ่งเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิต และขยายพันธุ์ของสัตว์น้ำ




ตระหนักว่าการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในอดีตที่ผ่านมา ยังไม่มีเอกภาพ ขาดการบูรณาการ และไม่มีหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง หรือมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพ จึงได้มีการปฏิรูประบบราชการและมีพระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนด ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และรวมทั้งการจัดการใช้ ประโยชน์อย่างยั่งยืน ประกาศในราชกิจจานุเบกษา หน้า 14 เล่ม 119 ตอนที่ 99 ก เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2545 หมวด 9 มาตรา 22 และ 23 จัดตั้งหน่วยงานภายใต้กระทรวงอีก 10 หน่วยงาน โดยมีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) อยู่ในลำดับที่ 4 เป็นการรวมงานที่เกี่ยวข้องในด้านทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จากกรมประมง กรมป่าไม้ และกรมพัฒนาที่ดิน ในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาอยู่ภายใต้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) มีภารกิจในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู บริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยเฉพาะพื้นที่ดินชายทะเล ป่าชายเลน แนวปะการัง หญ้าทะเล และสัตว์ทะเล ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสมดุลและเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมและเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน


เกี่ยวกับเรา มาตรฐานจริยธรรม กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
  • D
    Democracy
    ส่งเสริมระบอบประชาธิปไตย
  • M
    Men
    ใส่ใจความเป็นมนุษย์
  • C
    Creative
    ไม่หยุดความคิดสร้างสรรค์
  • R
    Resources
    จัดการทรัพยากรอย่างมืออาชีพ

เกี่ยวกับเรา จรรยาข้าราชการกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
ยึดมั่นและยืนหยัดในสิ่งที่ถูกต้อง
ยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม โดยไม่โอนอ่อนตามอิทธิพลใดที่ไม่ถูกต้อง และไม่เหมาะสม
ความซื่อสัตย์และมีความรับผิดชอบ
ปฎิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี มีความรับผิดชอบทั้งตอตนเอง ผู้อื่น และองค์กร รวมั้งเสียสละผลประโยขน์ส่วนตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้
โดยยึดหลักธรรมาภิบาล มีขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ชัดเจนสามารถตรวจสอบได้ง่าย และเปิดเผยข้อมูลข่าวสารภายในขอบเขตของกฎหมาย
ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่เลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม
มีจิตใจพร้อมให้บริการต่อผู้รับบริการ โดยยึดมั่นในประโยชน์ส่วนรวมด้วยความเสมอภาค เป็นธรรม มีน้ำใจ เมตตา และเอื้อเฟื้อ ด้วย ความเต็มใจปราศจากอคติ
การมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน
ปฏิบัติงานโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงานอย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผลด้วยความรอบคอมแล้วเสร็จตามกำหนด เกิดผลดีแก่หน่วยงานและ ส่วนรวมได้ผลลัพธ์ตามเป้าหมายและใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด มีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มีความสามัคคีและมีการทำงาน เป็นทีม

เกี่ยวกับเรา จรรยาข้าราชการกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
  • ความมั่นคง
    ฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความมั่นคงของอาหาร พลังงาน และน้ำ
  • ความมั่นคั่ง
    ความสมบูรณ์ในทุนที่จะสามารถสร้าง การพัฒนาต่อเนื่อง ได้แก่ ทุนมนุษย์ ทุน ทางปัญญา ทุนทางการเงิน ทุนที่ เป็น เครื่องมือเครื่องจักร ทุนทางสังคม และทุนทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม
  • ความยั่งยืน
    การพัฒนาที่สร้างความเจริญ คุณภาพชีวิตของประชาชนให้เพิ่มขึ้น การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ไม่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติเกินพอดี ไม่สร้างมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมจนเกิน เยียวยาของระบบนิเวศ