ข้อมูลองค์กร

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับองค์กร

เกี่ยวกับเรา
สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจ กับประเทศเพื่อนบ้าน(องค์การมหาชน)
ยุทธศาสตร์

ยุทธศาสตร์ 3 ปีของ สพพ.(พ.ศ.2558-2560)

ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ ดังนี้

  • 1
    ยุทธศาสตร์ที่ 1
    พัฒนาความร่วมมือทางการเงิน และวิชาการกับประเทศเพื่อนบ้าน ให้มีคุณภาพมาตรฐานสากล
    เป้าประสงค์

    • เพื่อผลักดันให้เกิดความร่วมมือทางการเงินและวิชาการกับ ประเทศเพื่อนบ้านอย่างต่อเนื่อง
    •. เพื่อให้ความร่วมมือทางการเงินและวิชาการเกิดผลเป็นรูปธรรม และสอดคล้อง กับแผนกรอบความร่วมมือ ยุทธศาสตร์ แผนพัฒนาเศรษฐกิจ ของประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน
    • เพื่อให้ความร่วมมือทางการเงินและวิชาการของ สพพ. กับประเทศเพื่อนบ้านได้มาตรฐานสากล

    กลยุทธ์ที่ 1 จัดทำแผนความร่วมมือเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (Country Strategy) ให้ชัดเจน และสอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาประเทศของไทย และประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งข้อตกลงกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจ

    กลยุทธ์ที่ 2 บูรณาการกับหน่วยงานภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้ความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน เอื้อต่อการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ

    กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนากระบวนการและเครื่องมือในการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ เช่น การประเมินความเสี่ยงในการดำเนินงาน การประเมินผลโครงการที่แล้วเสร็จ และการจัดทำ ข้อกำหนดทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม

    กลยุทธ์ที่ 4 รริเริ่มและพัฒนาโครงการความร่วมมือให้ตอบสนองกับความต้องการ ในการพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศเพื่อนบ้านและภูมิภาค และสอดคล้องกับพลวัต ของนโยบายต่างๆ

  • 2
    ยุทธศาสตร์ที่ 2
    บูรณาการกับภาคส่วนต่างๆ เพื่อ ประโยชน์สูงสุดในการร่วมพัฒนาเศรษฐกิจ กับประเทศเพื่อนบ้าน
    เป้าประสงค์

    • เพื่อให้ความร่วมมือในการพัฒนาเศรษฐกิจระหว่าง สพพ. และประเทศเพื่อนบ้าน สอดคล้องกับยุทธศาสตร์และแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย ประเทศเพื่อนบ้าน และกรอบความร่วมมือต่างๆ ในภูมิภาค และสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน และเจริญเติบโตแบบมีส่วนร่วม

    • เพื่อบูรณาการการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เป็นประโยชน์สูงสุดในการ พัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน

    กลยุทธ์ที่ 1 ทำงานใกล้ชิดกับรัฐบาลและภาคส่วนต่างๆ ของประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ความร่วมมือในระดับทวิภาคีและ พหุภาคีที่สามารถทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน และสนับสนุนการเติบโตอย่างมีส่วนร่วม

    กลยุทธ์ที่ 2 ใช้ความร่วมมือตามกรอบทวิภาคีและพหุภาคีในการประสานความร่วมมือระหว่าง หน่วยงานต่างๆ รวมทั้งหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาในการร่วมมือทางการเงินและวิชาการ รวมทั้งไม่ให้เกิด ความซ้ำซ้อนในการใช้ทรัพยากร

    กลยุทธ์ที่ 3 ประสานกับหน่วยงานของรัฐบาลไทยอย่างใกล้ชิด เพื่อผลักดันและส่งเสริมการบูรณาการ ในการริเริ่มโครงการความร่วมมือทางการเงินและวิชาการ รวมทั้งพัฒนาการจัดการองค์ความรู้ เพื่อนำบทเรียนที่ผ่านมาไปจัดทำยุทธศาสตร์และโครงการในอนาคต

    กลยุทธ์ที่ 4 ดำเนินการประชาสัมพันธ์เชิงรุก เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงภาคประชาชนเข้าใจบทบาทและผลงานของประเทศไทยในโครงการให้ความร่วมมือ ด้านการเงินและวิชาการและผลประโยชน์ร่วมกันในภูมิภาค

  • 3
    ยุทธศาสตร์ที่ 3
    บริหารจัดการทรัพยากร ทางการเงินเพื่อความยั่งยืนใน การดำเนินงาน
    เป้าประสงค์

    • เพื่อให้ สพพ. มีเงินทุนเพียงพอที่จะรองรับการดำเนินงานและรองรับการให้ ความช่วยเหลือทางการเงินและทางวิชาการกับประเทศเพื่อนบ้าน อย่างยั่งยืน

    • พัฒนานวัตกรรมทางการเงินในรูปแบบใหม่ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ในการดำเนินงาน

    กลยุทธ์ที่ 1 แสวงหาแหล่งเงินที่เหมาะสมจากตลาดการเงิน เพื่อสนับสนุนภารกิจของ สพพ. ให้มี ความต่อเนื่องและยั่งยืน

    กลยุทธ์ที่ 2 พิจารณาแนวทางการให้ความร่วมมือทางการเงินในรูปแบบอื่นๆ เช่น การร่วมทุน และการร่วมลงทุน การกู้ต่อ การเป็นตัวแทนการให้กู้ และการให้กู้ร่วมกับองค์กรอื่น

    กลยุทธ์ที่ 3 บริหารเงินทุนให้เป็นไปตามระเบียบและสามารถตรวจสอบได้ รวมถึงพัฒนาระบบ บริหารจัดการหนี้ และระบบฐานข้อมูลให้ถูกต้อง ครบถ้วน และสามารถรองรับการดำเนินงาน ของ สพพ. ในอนาคต

    กลยุทธ์ที่ 4 จัดทำกรอบความยั่งยืนทางการเงินของ สพพ. เพื่อให้การดำเนินงานด้านการ ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศเพื่อนบ้านมีความยั่งยืน และสามารถรักษาระดับ ความน่าเชื่อทางด้านเครดิตขององค์กร

  • 4
    ยุทธศาสตร์ที่ 4
    พัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่อง และเสริมสร้างสมรรถนะในการ ปฏิบัติงาน
    เป้าประสงค์

    • เพื่อพัฒนาระบบการทำงานภายในองค์กรอย่างต่อเนื่อง
    • เพื่อให้การบริหารงานภายใน สพพ. เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล
    • เพื่อสร้างบุคลากรให้มีสมรรถนะในการดำเนินงานในแต่ละด้านควบคู่กับธรรมาภิบาล
    • เพื่อให้สามารถบริหารทรัพยากรบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพ
    • เพื่อให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการดำเนินงานขององค์กรในทุกๆ ด้าน

    กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาระบบการทำงานขององค์กรโดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม เอื้อต่อการ ทำงานที่มีประสิทธิภาพ ส่งเสริมการเรียนรู้ และยกระดับความโปร่งใสของการปฏิบัติงานให้ สามารถตรวจสอบได้

    กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาบุคลากรให้เป็นมืออาชีพในการปฏิบัติงานทุกสายงาน ควบคู่ไปกับความมีคุณธรรมและจริยธรรม

    กลยุทธ์ที่ 3 เปิดเผยข้อมูลองค์กรที่ดำเนินงานในประเทศเพื่อนบ้านต่อสาธารณะอย่างเพียงพอและ เหมาะสมและเอื้อต่อการดำเนินงานของเอกชนและสาธารณชน รวมถึงเปิดเผยข้อมูลการปฏิบัติงานตามแนวทางปฏิบัติ เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารของราชการ

    กลยุทธ์ที่ 4 จัดทำแนวทางปฏิบัติงานภายในของ สพพ. ให้สอดคล้องกับ พรบ. และระเบียบต่างๆ ของทางราชการ รวมถึงป้องกันการขัดกันระหว่างผลประโยชน์

    กลยุทธ์ที่ 5 พัฒนามาตรการเพื่อส่งเสริมขวัญกำลังใจ และแรงจูงใจในการปฏิบัติงานให้กับบุคลากร

    กลยุทธ์ที่ 6 ให้บุคลากรในองค์กรมีโอกาสในการเสนอความเห็น ข้อเสนอแนะ และข้อสังเกตใน ทุกๆ ด้านเพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมในองค์กร

สาขายุทธศาสตร์ (Strategic Sectors)

1. โครงสร้างพื้นฐานด้านความเชื่อมโยงทั้งทางด้านการคมนาคมและไฟฟ้า และทางด้านการพัฒนาเมือง
โดยให้ความร่วมมือทางการเงินในการพัฒนาโครงการต่างๆ ในประเทศเพื่อนบ้าน ในการส่งเสริมการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว ตลอดจนการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนและสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้แก่ผู้ประกอบการไทยและประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อนำไปสู่การเจริญเติบโตแบบมีส่วนร่วมและการพัฒนาที่ยั่งยืน

2. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
เป็นการวางรากฐานในการพัฒนาที่ยั่งยืนและเจริญเติบโตอย่างมีส่วนร่วม โดยเฉพาะด้านการพัฒนาทางด้านสรรถนะ รวมทั้งดำเนินโครงการให้ประสิทธิภาพและไร้รอยต่อ ส่งเสริมให้การพัฒนาโครงการต่างๆ ของ สพพ. มีความยั่งยืนในระยะยาว เน้นความร่วมมือทางวิชาการในการจัดเตรียมโครงการ และการพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากรประเทศเพื่อนบ้านให้สามารถบริหารจัดการโครงการได้อย่างยั่งยืน